dc.contributor.author | Porncharoen, Rungaroon | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งอรุณ พรเจริญ | |
dc.date.accessioned | 2018-08-21T02:40:05Z | |
dc.date.available | 2018-08-21T02:40:05Z | |
dc.date.issued | 2561-07-21 | |
dc.identifier.uri | http://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2714 | |
dc.description | รายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2560 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูป 2) เพื่อ
หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูป และ 3) เพื่อศึกษา
ความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูปสำหรับการเรียนการ
สอนทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 แขนงวิชา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ
โทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ลงทะเบียนเรียน
รายวิชาวิศวกรรมสายอากาศ ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน ทำการสุ่มกลุ่ม
ตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูป เรื่อง การวิเคราะห์
คุณสมบัติและออกแบบสายอากาศแบบไดโพล และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา
วิศวกรรมสายอากาศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และค่าความคงทนในการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูปสำหรับการเรียนการสอนทางด้าน
วิศวกรรมโทรคมนาคมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พบว่า ผลการหาประสิทธิภาพชุด
เรียนปฏิบัติการสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษาทำคะแนนระหว่างเรียนได้เฉลี่ยเท่ากับ 256 คิด
เป็นร้อยละ 85.33 และคะแนนหลังเรียนได้คะแนนเท่ากับ 393 คิดเป็นร้อยละ 87.33 แสดงให้เห็นว่า
ชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูป เรื่อง การวิเคราะห์คุณสมบัติและออกแบบสายอากาศแบบไดโพล มี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 85.33/87.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูป
สำหรับการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
พบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน มี
คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 10.20 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 26.20 และเมื่อทำ
การทดสอบค่า t-test มีค่าเท่ากับ 1.70 แสดงให้เห็นว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดเรียนปฏิบัติการ
สำเร็จรูปสำ หรับการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษา พบว่า ร้อยละของความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดเรียน
ปฏิบัติการสำเร็จรูป เรื่อง การวิเคราะห์คุณสมบัติและออกแบบสายอากาศแบบไดโพลหลังเรียนเป็น
เวลา 7 วัน และ 30 วัน มีความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดเรียนปฏิบัติสำเร็จรูป
หลังเรียนแล้ว 7 วัน มีค่าเท่ากับ 90.08 และความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุด
เรียนปฏิบัติสำเร็จรูปหลังเรียนแล้ว 30 วัน มีค่าเท่ากับ 77.10 แสดงให้เห็นว่า ชุดเรียนปฏิบัติการ
สำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้น ทำให้นักศึกษามีความคงทนในการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ | |
dc.description.sponsorship | Rajamangala University of Technology Phra Nakhon | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | Aerial | en_US |
dc.subject | สายอากาศ | en_US |
dc.subject | Electromagnetic wave | en_US |
dc.subject | คลื่นแม่เหล็ก | en_US |
dc.subject | Telecommunications | en_US |
dc.subject | โทรคมนาคม | en_US |
dc.subject | Antenna engineering | en_US |
dc.subject | วิศวกรรมสายอากาศ | en_US |
dc.title | Development of programmed instruction laboratory in the teaching on telecommunication engineering of Thai qualifications framework for higher education | en_US |
dc.title.alternative | การพัฒนาชุดเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูปสำหรับการสอนวิศวกรรมสายอากาศ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
dc.contributor.emailauthor | [email protected] | en_US |